Cr.ภัทรพล พรมพัก/สุพรรณบุรี
สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือสำนักงาน กกพ. เดินหน้าโครงการไฟฟ้าสีเขียว (Green Station) สร้างความรู้ สร้างเครือข่าย เพื่อการเติบโตของพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทิ่ จ.สุพรรณบุรี นางฤดี ภริงคาร ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นประธานเปิดสัมมนา โครงการไฟฟ้าสีเขียว (Green Station) สร้างความรู้ สร้างเครือข่าย เพื่อการเติบโตของพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน
ภายใต้แนวคิด “CLEAN ENERGY FOR LIFE: ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในหัวข้อโรงไฟฟ้าชีวมวล กับการอยู่ร่วมกับชุมชน
โดยมี นางสาวเฉลา กาญจนา บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวและเว็บไซต์ The Bangkok Insight ผศ.ดร.พิสิษฏ์ มณีโชติ วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร นายนพพร ทรัพย์เห็นสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ประจำเขต 9 (กาญจนบุรี)
นายสุธีร์ ทวีวงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต บริษัท น้ำตาลรีไฟน์ชัยมงคล จำกัด นายอุทัยอัตถาพร ผู้แทนภาคประชาสังคม ตัวแทนองค์กรภาครัฐและประชาชนเข้าร่วมสัมมนาณ ห้องกาลพฤกษ์แกรนด์ฮอลล์ โรงแรมสองพันบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
การ“สัมมนาโครงการไฟฟ้าสีเขียว (Green Station) สร้างความรู้ สร้างเครือข่าย เพื่อการเติบโตของพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน” เป็นอีกหนึ่งจาก 26 โครงการผู้รับทุนสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อกิจการตามมาตรา 97 (5) ปีงบประมาณ 2563
โดยทั้ง 26 โครงการ จะขับเคลื่อนการสื่อสารภายใต้แนวคิด “CLEAN ENERGY FOR LIFE: ใช้พลังงานสะอาด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน” ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG7 ของสหประชาชาติ
สำหรับโครงการไฟฟ้าสีเขียว หรือ Green Station นี้จะสื่อสารประเด็นหลัก คือ ประเด็นพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล หรือ Bio mass
สำหรับ กองทุนพัฒนาไฟฟ้า จัดตั้งขึ้นภายใต้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ตาม “พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550”
โดยมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เป็นผู้กำกับดูแล ภายใต้กรอบนโยบายของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ หรือ กพช. ซึ่งมีภารกิจสำคัญอย่างหนึ่งคือ ส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมทางด้านไฟฟ้า
โครงการไฟฟ้าสีเขียว จะมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในข้อมูลข้อเท็จจริงเรื่องพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล การดำเนินงานโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ถูกต้อง เหมาะสมรวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมกันสอดส่องดูแลโรงไฟฟ้าในพื้นที่ของตนเอง
ซึ่งเวทีนี้ถือเป็นแรงผลักดันสำคัญต่อการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวลได้อย่างมีนัยสำคัญ จากภาคนโยบายไปสู่การปฏิบัติภายใต้การกำกับดูแลที่ดีของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน (พ.ศ. 2561 – 2564) คือ พัฒนาการมีส่วนร่วม และสื่อสารอย่างเข้าถึง และเข้าใจ
นางฤดี ภริงคาร ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวอีกว่าที่โรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้นโดยส่วนตัวมองว่าเป็นประโยชน์ต่อชุมชนมากกว่า ส่วนใหญ่วัสดุที่ใช้ผลิตไฟฟ้าก็มาจากวัสดุทางการเกษตรที่เหลือใช้ทางชุมชนสามารถนำวัสดุเหลือใช้พวกนี้มาขายเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ในระยะยาวเนื่องจากโรงไฟฟ้าจะมีอายุ 20-25 ปี
ส่วนการกำกับดูแล ของ กพพ.มีกระบวนการตรวจติดตามตามวงรอบเพื่อดูแลทุกขั้นตอนในส่วนของ ซีโอพี จะเป็นฝ่ายดูแลให้ โครงการไฟฟ้าสีเขียว (Green Station)
โรงไฟฟ้าสีเขียวและทางทีม The Bangkok Insight ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้สร้างความเข้าใจให้ประชาชนและชุมชนซึ่งเป็นรากหญ้าในพื้นที่เข้าใจเข้าถึงมากยิ่งขึ้นว่าจริงๆแล้วไฟฟ้าชีวมวลนั้นมีประโยชน์ต่อประชาชนในระยะยาว และทาง กกพ.ก็จะกำกับดูแลโรงไฟฟ้าในพื้นที่อย่างเข้มงวด