เป็นข่าว » ข่าวดี “ยูเนสโก” ขึ้นทะเบียน “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” เป็นแหล่งมรดกโลก แห่งที่ 6 ของประเทศไทย

ข่าวดี “ยูเนสโก” ขึ้นทะเบียน “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” เป็นแหล่งมรดกโลก แห่งที่ 6 ของประเทศไทย

26 กรกฎาคม 2021
1051   0

ข่าวดี “ยูเนสโก” ขึ้นทะเบียน “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” เป็นแหล่งมรดกโลก แห่งที่ 6 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 4 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

วันที่ 26 กรกฎาคม 2564 นายพิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี กล่าวว่า กว่า 16 ปี ที่ประเทศไทยมุ่งมั่น ผลักดันพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2548  และเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก ถึง 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2562

จนเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ในปี พ.ศ. 2564 และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ด้วยเกณฑ์ข้อที่ 10 ซึ่งนับเป็นความสำเร็จในการดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด รวมไปถึงการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และ/หรือ สัตว์ ที่มีคุณค่าโดดเด่นเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ เชิงอนุรักษ์ระดับโลก

พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 4 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี แห่งที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งที่ 3 ของไทย นับตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ. 2534 และ กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ในปี พ.ศ. 2548

พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน อยู่ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ครอบคลุมพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 4 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี  มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ล้านไร่ (4,089 ตารางกิโลเมตร) มีความยาวตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดของพื้นที่ มากกว่า 200 กิโลเมตร

พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำภาชี เป็นป่าผืนใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย เขตสัตวภูมิศาสตร์ ได้แก่ Sundaic, Sino-Himalayan, Indochinese และ Indo-Burmese