ศูนย์ ปภ.เขต4 ผลึกกำลังเครือข่าย ฝึกกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ที่อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ ด้านรองผู้ว่าฯ เผย ประจวบคีรีขันธ์เตรียมพร้อมรับมือุทกภัย สั่งทุกอำเภอรายงานสถานาการณ์ทุก 6 ชั่วโมง หากมีฝนตกหนัก
วันที่ 3 สิงหาคม 2563 ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ นาย รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายภิรมย์ นิลทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานเปิดโครงการฝึกกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) หรือ EOC. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติฯ โดยมี ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , นายอุดม เพชรคุต ผู้อำนวยกาศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานกู้ภัยต่างๆ เข้าร่วมฝึกซ้อมจำนวนทั้งสิ้น 201 คน
นายอุดม เพชรคุต ผู้อำนวยกาศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า สำหรับการฝึกซ้อมในครั้งนี้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเพื่อการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณะภัยต่างๆ ซึ่งในระยะนี้ลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนในระเทศไทย ในช่วงเดือนสิงหาคม และกันยายน จะเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่น อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในบางพื้นที่ ได้ เช่น ที่ จ.เลย ที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันจนทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง การเข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงที และปลอดภัย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ด้วยความสำคัญดังกล่าว กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้สั่งการให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสธารณภัยจังหวัดทุกจังหวัด เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งการทดสอบการปฏิบัติงาน การประเมินความพร้อมด้านบุคลากร ทรัพยากร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการจัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งขาติ (ส่วนหน้า) ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 4 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ
จึงได้จัดทำโครงการฝึกกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ส่วนหน้า) ขึ้น ทั้งนี้เพื่อฝึกเตรียมความพร้อมของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการรองรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน และเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์การปฏิบัติงานของหน่วยงาน เครือข่ายทุกภาคส่วนที่เป็นประโยชนในการปฏิบัติงานร่วมกัน
นายภิรมย์ นิลทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า สำหรับการฝึกในครั้งนี้ เพื่อให้รู้ระบบในการอำนวยการ ควบคุม และประสานการปฏิบัติของแต่ละหน่วยโดยใช้ศูนย์ป้องกันฯ เป็นศูนย์สั่งการ ซึ่งการอบรมแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการทำความเข้าใจให้รู้เรื่องระบบว่าเป็นอย่างไร และอบรมในการปฏิบัติในการดูแลสรรพกำลังต่างๆ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่จะใช้ เมื่อตั้งศูนย์บัญชาการขึ้นมาแล้ว โดยทั้งหมด 26 ส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน มูลนิธิ ทั้งหมด 4 จังหวัด โดยเรียกว่ากลุ่ม เพชรสมุทรคีรี ประกอบด้วยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร ได้เข้ามาร่วมฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติ สร้างความอุ่นใจให้กับประชาชน หากเกิดสาธารณภัยขึ้น จะสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้ทันที
สำหรับการเตรียมความพร้อมของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ติดตามสถานการณ์ฝนตกตลอดเวลา และมีการรายงานในทุก 6 ชั่วโมง ว่าสถานการณ์ทั้ง 8 อำเภอ สภาพฝนเป็นอย่างไร มีปริมาณน้ำฝนในพื้นที่พื้นที่ตกมากน้อย มีลมตรงไหนบ้าง มีมวลน้ำหรือไม่ ฝั่งพม่าฝนตกขนาดไหน บนเขา ทางจังหวัดฯมีการวิเคราะห์หมด จึงอยากฝากพี่น้องประชาชนให้ติดตาม และขอให้เชื่อข้อมูลจากทางภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นจาก กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ
ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า สถานการณ์น้ำท่วมฉับพลับน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือในขณะ โดยเฉพาะที่ จ.เลย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตทั่วประเทศ จำนวน 18 ศูนย์ เตรียมความพร้อมเครื่องมือเครื่องจักรกล ร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จะเคลื่อนย้ายเข้าช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยได้ทันที
โดยขณะนี้มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นได้ให้ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่ประสบภัย ร่วมกับ หน่วยงานความมั่นคง ทั้ง ทหาร และกู้ภัยฯ ที่มีเครื่องมือได้ออกไปร่วมกันให้ความช่วยเหลือ โดยล่าสุด ปภ.ศูนย์ เขต10 ลำปาง , ศูนย์ เขต 15 เชียงราย , ศูนย์เขต 14 อุดรธานี และ ปภ.ศูนย์ เขต 6 ขอนแก่น ระดมกำลังและเครื่องจักรเข้าช่วยเหลือฟื้นฟู จ.เลย ,น่าน ,เชียงใหม่ ,อุตรดิตถ์ มั่นใจว่าจะสามารถช่วยเหลือประชาชนได้ แต่หากกำลังคนหรือเครื่องจักรไม่เพียงพอกรมป้องกันและบรรเทาสธารณภัยพร้อมที่จะสนับสนุนเพิ่มเติมอีก